โครงการเผยแผ่ธรรมะสู่เยาวชน

โครงการเผยแผ่ธรรมะสู่เยาวชน
วัดป่าบ้านค้อ

หนังสือธรรมะ
เสียงธรรม
งานอบรม
ปฏิบัติธรรม

ความเป็นมา โครงการเผยแผ่ธรรมะสู่เยาวชน วัดป่าบ้านค้อ


     พระปัญญาพิศาลเถร(หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ) ได้จัดให้มีกิจกรรมเผยแผ่ธรรมะอีกหลายรูปแบบและในทุกรอบปี มีการจัดบรรพชาอุปสมบทและอบรมธรรมปฏิบัติแก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปอยู่เสมอ

ปี ๒๕๓๐ เริ่มมีการจัดการอบรมปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าบ้านค้อ

ปี ๒๕๔๑ เริ่มจัดงานปฏิบัติธรรม สรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี

     “หลวงพ่อให้ลูกศิษย์พากันช่วยกัน ปรึกษากัน ดังคำโบราณว่า  ผงเข้าตาเอาออกเองไม่ได้  ต้องให้คนอื่นช่วยเอาออกให้  นี่ชัดเจนและเป็นความจริง ต้องช่วยกัน  คือ  ช่วยให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน”

ปี ๒๕๔๒ พระสงฆ์ แม่ชี วิทยากร ออกอบรมธรรมปฏิบัติตามแนวทาง การสอนของหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ ในโครงการ ปฏิบัติธรรม ขิปปปัญญานุสรณ์ในเขตภาคเหนือตอนบน

“โรคดื้อยา” 

     การสนทนาธรรม ปรับความคิด ความเห็นนั้น  เราต้องลดอัตตาตัวเองลงก่อน ถ้าถืออัตตามานะเป็นที่ตั้ง คนนั้นเป็นฆราวาส เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย อัตตามันสูง มันเป็นโรคดื้อยา มันแก่ยา ตัณหามานะ ก็แก่ยาเหมือนกัน ถ้าคุยกันพูดให้กันฟังไม่อยากจะลง ไม่อยากจะรับ ถ้ารับก็รับไปอย่างนั้นแหละ นี้ลักษณะของคนโง่

ตัดตอนจากเทศนาหลวงพ่อทูล  25 มีนาคม 2543

     ปี ๒๕๔๕ จัดอบรมธรรมแก่เยาวชนในโรงเรียนและสถานพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชนหลายจังหวัด วัดป่าบ้านค้อ และวัดตาดน้ำพุ ซึ่งเป็นวัดสาขา ทำการอบรมธรรมะ แก่เยาวชนมาโดยตลอด โดยเน้นให้เยาวชนรู้จักคุณค่า ของตนเอง สามารถแก้ปัญหาด้วยปัญญาของตนได้

“เปลี่ยนเรา ง่ายกว่าเปลี่ยนเขา”

เปลี่ยนเรา ง่ายกว่าเปลี่ยนเขา นี่เป็นสัมมาทิฏฐิ ให้มาเห็นตัวเองแล้วก็เปลี่ยนตัวเองให้ได้ ไม่ต้องไปเรียกร้องที่จะไปเปลี่ยนเค้า ให้เราเริ่มเปลี่ยนตัวเอง

เปลี่ยนมิจฉาทิฐิ ให้เริ่มเป็นสัมมาทิฐิ ไม่ใช่ทีเดียวมันจะเปลี่ยนได้หมด แต่เริ่มต้นต้องเปลี่ยนความเห็นผิดให้ได้  เปลี่ยนที่เรานี่ ง่ายกว่าเปลี่ยนเขา

ตัดตอนจากเทศนาพระอาจารย์ไชยา 23 สิงหาคม 2564

“การใช้สื่อทางกาย วาจา ให้มีลีลาในการแสดง หาอุบายในการเปรียบเทียบให้เขา เห็นภาพในทางที่ดี และไม่ดี ต้องทำให้เขาเกิดความรู้สึกคล้อยตามและฝังใจให้ได้ การพูดคุย ของเราจึงจะได้ผล”

หลวงพ่อให้คำแนะนำวิทยากร

     สำหรับการอบรมเด็กและเยาวชนนั้นได้แบ่งออกเป็น ๓ ค่ายด้วยกัน ค่ายที่ ๑ คือค่ายพุทธธรรม หลักสูตรปัญญาอบรมใจ โดยปูพื้นฐานด้านศีลธรรม จริยธรรม โดยมุ่งเน้น เรื่องความกตัญญูต่อ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ ฝึกมารยาทความอ่อนน้อมถ่อมตน ฝึกการใช้ปัญญาแก้ไข ปัญหาต่างๆ (หาอุบายธรรม) และชี้ให้เห็นถึงทุกข์ โทษ ภัย ของสิ่งเสพติด • การสอนเด็กผู้ชาย ให้เน้นเรื่อง มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง รักษาชื่อเสียง วงศ์ตระกูล เป็นที่เชิดหน้าชูตาของพ่อแม่ อย่าทำให้พ่อแม่ผิดหวังช้ำใจ เพราะเรา ให้ห่างไกลยาเสพติด • การสอนเด็กผู้หญิง ให้เน้นเรื่อง ความยากลำบากของพ่อแม่ ในการ เลี้ยงดูลูก ตั้งแต่อุ้มท้อง คลอดออกมาเป็นทารก เลี้ยงดูจนเติบโต การคบ เพื่อนชาย ฝึกสติปัญญา ให้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของผู้ชายทุกรูปแบบ ให้ ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นอโคจร สถานเริงรมย์ วงการพนัน

    ค่าย ๒ ค่ายฝึกผู้นำด้วยธรรมะ โดยได้คัดเลือกผู้นำแต่ละโรงเรียนที่เคยผ่านค่าย ๑ มาฝึกเป็นผู้นำ ภายใต้สโลแกน “เสริมสร้างเยาวชน ฝึกฝนผู้นำ เลิศล้ำปัญญา” โดยมุ่งเน้นเรื่อง การทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกคิดอุบายธรรมมาสอนใจ เพื่อแก้ปัญหาของตนเอง ฝึกความกล้าแสดงออก ฝึกการอธิบายขยายความธรรมะและนำเสนอต่อที่ประชุม การโต้วาทีธรรมะ แสดงละครคติธรรมที่สร้างสรรค์ และการประชุมเพื่อจัดทำโครงการขยายผลต่อเนื่องที่โรงเรียน เป็นการให้โอกาสเยาวชนได้แสดงออกในทางที่ถูกต้อง หลวงพ่อมีแนวคิดว่า เยาวชนที่ผ่านการอบรมไปแล้ว มีทั้งความดีและความสามารถ น่าจะฝึกใช้เป็นวิทยากรบรรยายธรรมะได้ เพื่อจะได้ช่วยงานพระพุทธศาสนาและเป็นการเผยแผ่ธรรมะสู่เยาวชนโดยเยาวชนเอง จึงเกิดโครงการค่าย ๓ ขึ้น

     ค่าย ๓ ค่ายสร้างวิทยากร (พี่ช่วยน้อง) โดยนำเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถมาฝึกเป็นวิทยากร บรรยายธรรมะให้กับเพื่อนๆ และรุ่นน้องของตนเองได้ เพื่อให้เกิดตัวอย่างเยาวชนที่ดี ฝึกการทำงาน เป็นกลุ่ม เริ่มตั้งแต่การวางแผนงาน ฝึกการใช้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ฝึกการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวม

     หลวงพ่อทูลเคยบอกพระว่า หัดไปฟังธรรมจากฆราวาสบ้าง จะได้เป็นการลดทิฏฐิ มานะของตัวเอง และ หลวงพ่อก็ทำเป็นตัวอย่างด้วย คือ เมื่อมีเด็กนักเรียนมาเข้าค่ายที่วัด ตอนเช้าของวันที่สอง หลังจาก ใส่บาตรแล้วก็เข้าไปรับพรที่ศาลา หลวงพ่อบอกว่าให้หาตัวแทนเด็กไปพูดธรรมะที่ได้รับจากการ เข้าค่ายให้หลวงพ่อฟังหน่อย เมื่อเด็กนักเรียนที่เข้าค่ายมาถึงศาลากราบพระเรียบร้อย ก็จะเห็น ขิปปปัญญานุสรณ์ หลวงพ่อนั่งเคี้ยวหมากรออยู่ในศาลา แล้วและในศาลาตอนนี้ก็จะมีทั้งพระ และแม่ชี แม่พราหมณ์ ที่มาปฏิบัติธรรม ต้องมาตักอาหารที่ศาลาพร้อมกัน แล้วก็ให้เด็กนักเรียนที่มาเข้าค่ายพูดธรรมะ ว่าได้อะไรจากการมาเข้าค่ายในครั้งนี้ เป็นกุศโลบายเพื่อให้พระเณร แม่ชี แม่พราหมณ์ ได้ฟังธรรมจากเด็กที่มา เข้าค่าย เป็นการให้ธรรมะซึมเข้าในใจ โดยไม่รู้ตัวเลย

ความเป็นมา โครงการเผยแผ่ธรรมะสู่เยาวชน วัดป่าบ้านค้อ
     พระปัญญาพิศาลเถร(หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ) ได้จัดให้มีกิจกรรมเผยแผ่ธรรมะอีกหลายรูปแบบและในทุกรอบปี มีการจัดบรรพชาอุปสมบทและอบรมธรรมปฏิบัติแก่นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปอยู่เสมอ

ปี ๒๕๓๐ เริ่มมีการจัดการอบรมปฏิบัติธรรม ณ วัดป่าบ้านค้อ

ปี ๒๕๔๑ เริ่มจัดงานปฏิบัติธรรม สรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี

     “หลวงพ่อให้ลูกศิษย์พากันช่วยกัน ปรึกษากัน ดังคำโบราณว่า  ผงเข้าตาเอาออกเองไม่ได้  ต้องให้คนอื่นช่วยเอาออกให้  นี่ชัดเจนและเป็นความจริง ต้องช่วยกัน  คือ  ช่วยให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน”

ปี ๒๕๔๒ พระสงฆ์ แม่ชี วิทยากร ออกอบรมธรรมปฏิบัติตามแนวทาง การสอนของหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ ในโครงการ

 ปฏิบัติธรรม ขิปปปัญญานุสรณ์ในเขตภาคเหนือตอนบน

“โรคดื้อยา” 

     การสนทนาธรรม ปรับความคิด ความเห็นนั้น  เราต้องลดอัตตาตัวเองลงก่อน ถ้าถืออัตตามานะเป็นที่ตั้ง คนนั้นเป็นฆราวาส เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย อัตตามันสูง มันเป็นโรคดื้อยา มันแก่ยา ตัณหามานะ ก็แก่ยาเหมือนกัน ถ้าคุยกันพูดให้กันฟังไม่อยากจะลง ไม่อยากจะรับ ถ้ารับก็รับไปอย่างนั้นแหละ นี้ลักษณะของคนโง่

ตัดตอนจากเทศนาหลวงพ่อทูล  25 มีนาคม 2543

     ปี ๒๕๔๕ จัดอบรมธรรมแก่เยาวชนในโรงเรียนและสถานพินิจและ คุ้มครองเด็กและเยาวชนหลายจังหวัด วัดป่าบ้านค้อ และวัดตาดน้ำพุ ซึ่งเป็นวัดสาขา ทำการอบรมธรรมะ แก่เยาวชนมาโดยตลอด โดยเน้นให้เยาวชนรู้จักคุณค่า ของตนเอง สามารถแก้ปัญหาด้วยปัญญาของตนได้

“เปลี่ยนเรา ง่ายกว่าเปลี่ยนเขา”

เปลี่ยนเรา ง่ายกว่าเปลี่ยนเขา นี่เป็นสัมมาทิฏฐิ ให้มาเห็นตัวเองแล้วก็เปลี่ยนตัวเองให้ได้ ไม่ต้องไปเรียกร้องที่จะไปเปลี่ยนเค้า ให้เราเริ่มเปลี่ยนตัวเอง

เปลี่ยนมิจฉาทิฐิ ให้เริ่มเป็นสัมมาทิฐิ ไม่ใช่ทีเดียวมันจะเปลี่ยนได้หมด แต่เริ่มต้นต้องเปลี่ยนความเห็นผิดให้ได้  เปลี่ยนที่เรานี่ ง่ายกว่าเปลี่ยนเขา

ตัดตอนจากเทศนาพระอาจารย์ไชยา 23 สิงหาคม 2564

“การใช้สื่อทางกาย วาจา ให้มีลีลาในการแสดง หาอุบายในการเปรียบเทียบให้เขา เห็นภาพในทางที่ดี และไม่ดี ต้องทำให้เขาเกิดความรู้สึกคล้อยตามและฝังใจให้ได้ การพูดคุย ของเราจึงจะได้ผล”

หลวงพ่อให้คำแนะนำวิทยากร

     สำหรับการอบรมเด็กและเยาวชนนั้นได้แบ่งออกเป็น ๓ ค่ายด้วยกัน ค่ายที่ ๑ คือค่ายพุทธธรรม หลักสูตรปัญญาอบรมใจ โดยปูพื้นฐานด้านศีลธรรม จริยธรรม โดยมุ่งเน้น เรื่องความกตัญญูต่อ พ่อ แม่ ครูอาจารย์ ฝึกมารยาทความอ่อนน้อมถ่อมตน ฝึกการใช้ปัญญาแก้ไข ปัญหาต่างๆ (หาอุบายธรรม) และชี้ให้เห็นถึงทุกข์ โทษ ภัย ของสิ่งเสพติด • การสอนเด็กผู้ชาย ให้เน้นเรื่อง มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง รักษาชื่อเสียง วงศ์ตระกูล เป็นที่เชิดหน้าชูตาของพ่อแม่ อย่าทำให้พ่อแม่ผิดหวังช้ำใจ เพราะเรา ให้ห่างไกลยาเสพติด • การสอนเด็กผู้หญิง ให้เน้นเรื่อง ความยากลำบากของพ่อแม่ ในการ เลี้ยงดูลูก ตั้งแต่อุ้มท้อง คลอดออกมาเป็นทารก เลี้ยงดูจนเติบโต การคบ เพื่อนชาย ฝึกสติปัญญา ให้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของผู้ชายทุกรูปแบบ ให้ ห่างไกลจากสิ่งที่เป็นอโคจร สถานเริงรมย์ วงการพนัน

    ค่าย ๒ ค่ายฝึกผู้นำด้วยธรรมะ โดยได้คัดเลือกผู้นำแต่ละโรงเรียนที่เคยผ่านค่าย ๑ มาฝึกเป็นผู้นำ ภายใต้สโลแกน “เสริมสร้างเยาวชน ฝึกฝนผู้นำ เลิศล้ำปัญญา” โดยมุ่งเน้นเรื่อง การทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกคิดอุบายธรรมมาสอนใจ เพื่อแก้ปัญหาของตนเอง ฝึกความกล้าแสดงออก ฝึกการอธิบายขยายความธรรมะและนำเสนอต่อที่ประชุม การโต้วาทีธรรมะ แสดงละครคติธรรมที่สร้างสรรค์ และการประชุมเพื่อจัดทำโครงการขยายผลต่อเนื่องที่โรงเรียน เป็นการให้โอกาสเยาวชนได้แสดงออกในทางที่ถูกต้อง หลวงพ่อมีแนวคิดว่า เยาวชนที่ผ่านการอบรมไปแล้ว มีทั้งความดีและความสามารถ น่าจะฝึกใช้เป็นวิทยากรบรรยายธรรมะได้ เพื่อจะได้ช่วยงานพระพุทธศาสนาและเป็นการเผยแผ่ธรรมะสู่เยาวชนโดยเยาวชนเอง จึงเกิดโครงการค่าย ๓ ขึ้น

     ค่าย ๓ ค่ายสร้างวิทยากร (พี่ช่วยน้อง) โดยนำเด็กและเยาวชนที่มีความสามารถมาฝึกเป็นวิทยากร บรรยายธรรมะให้กับเพื่อนๆ และรุ่นน้องของตนเองได้ เพื่อให้เกิดตัวอย่างเยาวชนที่ดี ฝึกการทำงาน เป็นกลุ่ม เริ่มตั้งแต่การวางแผนงาน ฝึกการใช้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ ฝึกการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เป็นการเสียสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นและส่วนรวม

     หลวงพ่อเคยบอกพระว่า หัดไปฟังธรรมจากฆราวาสบ้าง จะได้เป็นการลดทิฏฐิ มานะของตัวเอง และ หลวงพ่อก็ทำเป็นตัวอย่างด้วย คือ เมื่อมีเด็กนักเรียนมาเข้าค่ายที่วัด ตอนเช้าของวันที่สอง หลังจาก ใส่บาตรแล้วก็เข้าไปรับพรที่ศาลา หลวงพ่อบอกว่าให้หาตัวแทนเด็กไปพูดธรรมะที่ได้รับจากการ เข้าค่ายให้หลวงพ่อฟังหน่อย เมื่อเด็กนักเรียนที่เข้าค่ายมาถึงศาลากราบพระเรียบร้อย ก็จะเห็น ขิปปปัญญานุสรณ์ หลวงพ่อนั่งเคี้ยวหมากรออยู่ในศาลา แล้วและในศาลาตอนนี้ก็จะมีทั้งพระ และแม่ชี แม่พราหมณ์ ที่มาปฏิบัติธรรม ต้องมาตักอาหารที่ศาลาพร้อมกัน แล้วก็ให้เด็กนักเรียนที่มาเข้าค่ายพูดธรรมะ ว่าได้อะไรจากการมาเข้าค่ายในครั้งนี้ เป็นกุศโลบายเพื่อให้พระเณร แม่ชี แม่พราหมณ์ ได้ฟังธรรมจากเด็กที่มา เข้าค่าย เป็นการให้ธรรมะซึมเข้าในใจ โดยไม่รู้ตัวเลย

โรงเรียนและหน่วยงานที่เข้ารับการอบรมล่าสุด (คลิ๊กที่รูปเพื่อดูทั้งหมด)

ร.ร.บ้านฝางวิทยา 13 ก.ค. 2567
โรงเรียนบ้านกาลึม อ.บ้านผือ 11-12 ก.ค. 2567
โรงเรียนสามพร้าววิทยา 27-28 พ.ค. 2567
ร.ร.หนองหัวคูฯ19-20 มิ.ย. 2566
ร.ร.โนนทองโนนหวาย 23-25 ส.ค. 2566
โรงเรียนอุดรพัฒนาการ 29-30 มิ.ย. 2566
นักเรียนผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหาสารคาม
คณะครูและบุคลากร ร.ร.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
ร.ร.สาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี
ร.ร.หนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์ อุดรธานี 18-20 ก.ค. 2565
เยาวชนหมู่บ้านเด็กโสสะ “เฉลิมนารินทร์” หนองคาย
อบต.หนองเหล็ก จ.มหาสารคาม
บุคลากรจากโรงพยาบาลหนองคาย
วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ ปวช.1,ปวส.1 (2556)
ร.ร.อนุบาลเพ็ญประชานุกูล ม.1-3 (26-28 พ.ค.56)
วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี 2556
ร.ร.หนองหัวคูฯ 2556
ล้อมวงสนทนาธรรม
ร.ร.ประจักษ์ศิลปาคาร
ร.ร.ประจักษ์ศิลปาคาร ชุด 2
ร.ร.บ้านโคกสำราญ อบต.นาดี
the rising sun รุ่น 6
วิทยาลัยการอาชีพบ้านผือ ปวส. ปี2557
โรงเรียนจำปาโมงวิทยาคาร ม.1-6 ปี2557
โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม ม.1 ปี 2557
โรงเรียนบ้านผือพิทยาสรรค์ ม.1 ปี 2557
วิทยาลัยสารพัดช่างอุดรธานี
โรงเรียนสตรีราชินูทิศ ม.1 ปี 2557
คณะโรงโม่หินสุมิต บ.5 ดาวสยาม และ ศาลปกครองจ.อุดรธานี
พนักงานบริษัท5 ดาวสยามจำกัด
โรงเรียนโคกคอนวิทยาคม ม.1,4 ปี 2557
โรงเรียนอนุบาลเพ็ญประชานุกูล ปี 57
โรงเรียนบ้านหมากตูมดอนยานาง ปี2557
ร.ร.คุณากรณ์ และ ร.ร.หนองยางชุมพิทยาคม ป.5-ม.4 2557
โรงเรียนสามัคคีพิทยาคาร ม.1-6 2557
โรงเรียนโนนสูงพิทยาคาร ม.1,ม.4 2557
วิทยาลัยเทคโนโลยีสันตพล อุดรธานี 2557

แบ่งปันหน้านี้…